xxiประวัติโรงเรียน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ อาจารย์สำเริง นิลประดิษฐ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีดำริว่า ทำอย่างไรจึงจะจัดตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยได้ทั้ง ๔ มุมของกรุงเทพฯ จึงได้ปรึกษา กับนายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในขณะนั้น นายวัฒนา อัศวเหม เห็นชอบด้วยโดยจะมอบที่ดินส่วนตัวให้บริเวณอำเภอบางบ่อตรงข้ามกับโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม แต่เมื่อมาพิจารณาดูแล้วไม่เหมาะสม เนื่องจากอยู่ใกล้กับโรงเรียนระดับมัธยมเหมือนกัน ในโอกาส ฉลองกรุงเทพฯ ครบ ๒๐๐ ปี อาจารย์สุวรรณ จันทร์สม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ปรึกษากับ เรืออากาศตรีศักดิ์ โตพิบูล ซึ่งเป็นศิษย์เก่าส่วนกุหลาบฯ เพื่อหาที่ดินให้เหมาะสมในเขตอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ เพื่อสร้างโรงเรียนสวนกุหลาบฯ แห่งใหม่ทางด้านทิศตะวันตกขึ้นใหม่ อาจารย์สุทธิ เพ็งปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ประสานงานกับสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมี พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็นนายกสมาคมฯ ได้รับความสนับสนุนจาก สมาคมฯ เป็นอย่างดีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจึงดำเนินการร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการทำหนังสือถึง พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) และผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยขอที่ดินจากกองบัญชาการทหารสูงสุดเพิ่มขึ้นอีก ๒๖ ไร่ รวมเป็น ๓๔ ไร่ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๓๘ อาจารย์สุทธิ เพ็งปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และผู้ช่วยผู้อำนวยการทั้ง ๔ ฝ่าย ได้เข้าพบนายบรรจง พงศ์ศาสตร์ รองอธิบดีกรมสามัญศึกษา เพื่อปรึกษาหารือเรื่องประกาศสจัดตั้งโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง ท่านรองอธิบดีจึงได้สั่งการให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดคณะครู – อาจารย์ ๑ ชุด มีอาจารย์สุโช วุฑฒิโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครองสวนกุหลาบฯ เป็นหัวหน้าคณะครู – อาจารย์ จากสวนกุหลาบวิทยาลัย มาจัดเตรียมเอกสารใบสมัคร และรับสมัครคืออาจารย์ไฟร์เดย์ ประมวลรัตน์, อาจารย์วารุณี พินทุสมิตร, อาจารย์ธวัช หมื่นศรีชัย, อาจารย์ปริทัศน์ ศรีรัตนาลัย, อาจารย์วไลรัตน์ พุกนานนท์, อาจารย์อุไรรัตน์ ศรีสวย เป็นคณะที่มาดำเนินการ รับสมัครเรียนในปีการศึกษา ๒๕๓๔ โดยใช้สถานที่โรงเรียนศรีวิทยา เป็นที่รับสมัครได้ ๓ วัน ต้องย้ายที่รับสมัครเป็นศาลาประชาคมจังหวัดสมุทรปราการเพื่อให้ทันเปิดเรียนในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๔ กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้ ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ผู้อำนวยการกองแผนงานเป็นตัวแทนนำคณะจากสำนักงบประมาณ เจ้าหน้าที่ของกรมแผนกอื่นๆ มาสำรวจพื้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ เพื่อจัดเตรียมการในเรื่องงบประมาณ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลเพิ่มอีก ๑ โรงเรียนที่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ” ประมาณปลายเดือนมิถุนายน อาจารย์สุโข วุฑฒิโชติ โดยโรงเรียนติดต่อกับ หัวหน้าราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ (คุณธรรมนูญ อินทรโยธา) ปรึกษาหาที่ดินราชพัสดุเพื่อให้ช่วยหาที่ดินแปลงใหม่ และทราบว่ามีที่ดินราชพัสดุบริเวณ กิโลเมตรที่ ๔๓ - ๔๔ ถนนสุขุมวิท จำนวน ๗๕ ไร่ ให้กรมราชทัณฑ์ เพื่อสร้างเรือนจำจังหวัดสุมทรปราการแต่มีปัญหาบางประการ จึงยังมิได้ดำเนินการโรงเรียน และชมรมผู้ปกครองและครูฯ จึงทำหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยฯ กระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น นายวัฒนา อัศวเหม ได้ช่วยติดต่อกรมราชทัณฑ์ เพื่อขอที่ดินส่วนหนึ่งให้โรงเรียนสวนกุหลาบฯ และท่านก็ให้ความกรุณาเป็นอย่างดียิ่ง ช่วยติดต่อกรมราชทัณฑ์ และแจ้งจังหวัดมาแล้วว่ากรมราชทัณฑ์ไม่ต้องการใช้ที่ดินแปลงดังกล่าว แล้วโรงเรียนได้ทำหนังสือแจ้งอธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ทราบ เพื่อให้กรมฯ สั่งการเมื่อจังหวัดอนุมัติที่ดินส่วนหนึ่งให้โรงเรียนเพื่อพิจารณาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๔ ท่านรองฯบรรจง พงษ์ศาสตร์ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กองออกแบบ กองการมัธยม และกองแผนงาน กรมสามัญศึกษามารังวัดที่ดินซึ่งกรมธนารักษ์ ได้อนุญาติให้ใช้ที่ดิน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของกองบัญชาการทหารสูงสุดมอบให้ ปรากฎว่าวัดได้เพียง ๗ ไร่เศษเท่านั้น เจ้าหน้าที่กองออกแบบเสนอให้ปรับซ่อมอาคาร U.S.ARMY เป็นที่เรียนชั่วคราวจำนวน ๒๖ ห้อง งบประมาณ ๕ ล้าน ๙ แสนบาท ถ้าได้งบประมาณก็ จะลงตัว อาคารเรียนและอาคารประกอบรอบๆ อาคารหลังเก่า ในเบื้องต้นกรมฯให้งบประมาณ ๙๙๐,๐๐๐ บาท เพื่อซ่อมอาคารก่อน จำนวน ๕ ห้องเรียน ขณะนี้อยู่ในระหว่างประกวดราคาต่อมาได้ข่าวจาก กรมสามัญว่าสำนักงบประมาณ ไม่ตั้งงบประมาณปีการศึกษา ๒๕๓๕ ให้กับโรงเรียนฯเนื่องจากเห็นว่ามีที่ดินน้อยเกินไป กรมสามัญมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง พยายมจะให้ความสนับสนุน ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องที่ดินเพียงใดก็ตาม วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๔ อาจารย์เกษม บุญเกิด อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสร่างโศก ต.คลองด่าน อ.บ่างบ่อ จ.สมุทรปราการ ทราบความเดือดร้อนเรื่องโรงเรียนไม่มีที่เรียน จึงแจ้งความประสงค์ที่จะมอบที่ดินส่วนที่ติดกับ ถนนสุขุมวิท ให้จำนวน ๓๐ไร่ รวมทั้งที่ดินของกรมชลประทานอีกประมาณ ๒๐ ไร่ รวมทั้งสิ้น ๕๐ ไร่ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก กำนันสำนึก มีประเสริฐ กำนันตำบลบางปู เป็นผู้อำนวยความสะดวก ประสานติดต่อกับราษฎร ส่วนหนึ่งที่ปลูกอาคารบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ดินดังกล่าว เพื่อขอที่ดินตั้งโรงเรียนฯ ซึ่งราษฎร์เหล่านั้นก็ให้ความร่วมมือด้วยดี วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ท่านรองอธิบดีกรมสามัญศึกษาขณะนั้น (นายกว้าง รอบคอบ) ได้มาสำรวจที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมเจ้าหน้าที่กองการมัธยม กองแผนงานกองคลัง ได้ร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ (นายสุชาติ สหัสโชติ) พ่อค้าคหบดีชาวจังหวัดสมุทรปราการ เช่น คุณสุวัฒน์ เดชประเสริฐ, คุณฮะเลีย แซ่แต้, คุณจำลอง กาญจนาภา, นายอำเภอชุบ รัศมิทัต, คุณสิน วรนาวิน, คุณชาญชัย ชัยเชิดเกียรติ, คุณสมบูรณ์ อัศวเหม, คุณกี๋ วารีดี, อาจารย์เกษม บุญเกิด ฯลฯ ได้นัดประชุมที่บ้านกำนันสมนึก มีประเสริฐโดยท่านรองฯ กว้าง รอบคอบ เป็นประธาน อาจารย์เกษม บุญเกิด กล่าวมอบที่ดินบริเวณหลังที่ดินกรมชลประทานบริเวณถนนสุขุมวิทหลักกิโลเมตร ที่ ๔๘,๒๓๐ ให้สร้างโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ นายอำเภอชุบ รัศมิทัต (ศิษย์เก่าสวนกุหลาบ) ได้กรุณามอบเงินจำนวน ๑.๕ ล้านบาท เพื่อสร้างเป็นหอประชุม (โภชนาการ) พร้อมโต๊ะอาหาร พ่อค้าคหบดีร่วมกันบริจาคเป็นทุนสร้างอาคารเรียนชั่วคราว กรมสามัญศึกษาจะสร้างศูนย์กีฬาของกรมฯ ที่โรงเรียน เพื่อใช้เป็นที่เก็บตัวนักกีฬาของกรมฯโดยให้โรงเรียนเป็นผู้ดูแลต่อไป วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๔ นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ (นายประสาท พงษ์ศิวาภัย) ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เป็นประธานประชุมปรึกษาร่วมกับคุณสมบูรณ์ อัศวเหม ประธานชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ กับคณะเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารชั่วคราว โดยมีคุณวสิน วรนาวิน เป็นประธานให้ทุน และอาจารย์เกษม บุญเกิด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและดูแลบัญชีค่าใช้จ่าย ปีการศึกษา ๒๕๓๖ นักเรียนเพิ่มมากขึ้น อาคารเรียน ห้องเรียนไม่พอ ต้องเช่าเต็นท์มาตั้งแทนห้องเรียน ๒๐ ห้อง เป็นเวลา ๖ เดือน สมาคมผู้ปกครองจัดสร้างอาคาร Knock Down ให้ ๖ หลัง ๑๒ ห้อง โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียน ม.๑ จำนวน ๑๒ ห้องเรียน ซึ่งเป็นปีแรกที่เต็มรูปแบบ และในปีนี้ คุณนิรมล พันธ์โลหะ ได้รับบริจาคเงินสร้างเสาธงชาติ และธงโรงเรียน คุณชวนตา และคุณพิจิต เพียยุระ ได้รับบริจาคสร้างสนามบาสเกตบอลพร้อมโครงเหล็ก หลังคากันแดด และสนามวอลเลย์บอลเพียยุระ พร้อมพื้นคอนกรีต รอบๆ เสาธงชาติ ปีการศึกษา ๒๕๓๘ โรงเรียนเปิดเรียน ม.๕ จำนวน ๓ ห้องเรียน โดยได้อาศัยอาคารที่ คุณพิเชษฐ์ รอดศรี ได้สร้างไว้เมื่อปี ๒๕๓๗ ชั้น ม.๕ ลงมาเรียนอาคารชั่วคราว การก่อสร้างถาวรยังคงดำเนินการที่อย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่แล้วเสร็จ
|
|||||
|
|||||